จดทะเบียนธุรกิจแบบไหนดี?

»»จดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดี?

เมื่อเราตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจเป็นของตนเองและรู้แล้วว่าจะทำธุรกิจประเภทใดแล้ว สิ่งที่ต้องตัดสินใจต่อไป คือเลือกว่าจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ซึ่งธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป  มาดูกันว่า ธุรกิจของท่านควรดำเนินการในรูปแบบใด

บุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดา  นั่นก็คือ ธุรกิจเจ้าของคนเดียว  ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ การคิดตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว  ซึ่งผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว

แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะ…ได้กำไร หรือ….ขาดทุน ก็ต้องรับผลนั้นคนเดียวเต็ม ๆ ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมาก ในกรณี ถ้าเจ้าของไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้

ลักษณะการเสียภาษี เป็นไปตาม อัตราก้าวหน้า ซึ่งหมายถึง ถ้ารายได้มาก ก็จะเสียภาษีมาก โดยอัตราภาษี สูงสุด ถึง 35 % ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายของกิจการประเภทบุคคลธรรมดา จะถูกกำหนดไว้ เป็น 2 ลักษณะ คือ

  • อัตราเหมา (กำหนดเป็นปอร์เซ็นต์ตายตัวตามประเภทของธุรกิจ)
  • ค่าใช้จ่ายตามจริง(ต้องอ้างอิงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สรรพากรยอมรับได้ หลังจากนั้นจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว จึงจะเป็นฐานภาษีสำหรับคำนวณภาษีที่ต้องชำระ )

นิติบุคคล

กรณีนี้เป็นรูปแบบธุรกิจที่บุคคล 2 คนขึ้นไป ตกลงทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งเป็นผลกำไร ตามอัตราส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน

ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ 

ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล ถ้าจดทะเบียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค (2) ของประมวลรัษฏากร

และนอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย

  •  ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล   ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1.  ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด คือ รับผิดชอบในหนี้สินจำกัด ไม่เกินเงินที่ได้ลงทุนไป ซึ่งหุ้นส่วน ประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ
  2.  ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด คือ รับผิดชอบในหนี้สิน ไม่จำกัดจำนวนหุ้นส่วนประเภทนี้คือ “หุ้นส่วนผู้จัดการ

ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบ และมีสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจใน เรื่องต่าง ๆ ของกิจการ

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี เหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

  •   บริษัทจำกัด

มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 3 คน

ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน

สามารถระดมทุนได้มากและง่ายกว่าธุรกิจรูปแบบอื่น

ลักษณะการตัดสินใจในการบริหารงานเป็นในรูปของคณะกรรมการบริษัท จึงทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบบุคคลธรรมดา

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล