SMEs จะได้ประโยชน์อย่างไร?

มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลส าหรับ SMEs
หลักการ
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชก าหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร
ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา
และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 โดยเนื้อหาตามพระราชก าหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ
มีสาระส าคัญ สรุปได้ดังนี้
 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อนวันที่
31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดท าบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพ
ที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว) ต่อกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของ
กรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2559
 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออก
ใบก ากับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการด าเนินคดีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 บริษัทฯ
ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะด าเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ
ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
 ส าหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ซึ่งมีทุนช าระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการ
ให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2558 และได้มีการจดแจ้ง
ต่อกรมสรรพากรในการใช้บัญชีเล่มเดียว จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
2 รอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
– ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลส าหรับก าไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี2559
– ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้
(1) ส าหรับก าไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 10 ของก าไรสุทธิส าหรับก าไรสุทธิ
ส่วนที่เกิน 300,000 บาท
 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้น
ไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ ตามพระราชก าหนดฉบับนี้
 ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยด าเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ใน
ก ากับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการ
ภาษีเงินได้ เป็นหลักฐานในการท าธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
*******************************มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลส าหรับ SMEs
ค าถามที่ถูกถามบ่อย :FAQ
พระราชก าหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
1. Q : เหตุผลและความจ าเป็นในการตราพระราชก าหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ
เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
A : เพื่อสะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ โดยรัฐบาลสามารถ วิเคราะห์และวางแผน
ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการได้ตรงต่อความต้องการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเผลิตและการค้า รวมถึงเป็นการ
สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
นอกจากนี้ การด าเนินการตามพระราชก าหนดในการจัดท าบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับ
สภาพที่แท้จริงของกิจการ ยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการน าระบบ e-payment มาใช้ ซึ่งมีส่วนในการ
ส่งเสริมให้การท าธุรกรรมและการบริหารเงินของผู้ประกอบการเป็นไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพ อันจะ
ส่งผลส าเร็จต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
2. Q : ท าไมต้องเป็นพระราชก าหนด เพื่อยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษี
อากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร
A : เนื่องจากการตราพระราชก าหนดฯ ดังกล่าว เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากร ที่ต้องพิจารณา
โดยด่วน และลับ ซึ่งหากมิได้ด าเนินการเป็นการเร่งด่วนแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ
3. Q : พระราชก าหนดนี้เป็นการนิรโทษกรรมทางภาษีหรือไม่
A : พระราชก าหนดนี้ไม่ใช่ การนิรโทษกรรมทางภาษี แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกเว้นการ
ตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ส าหรับบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มาจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการจัดท าบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับ
สภาพที่แท้จริงของกิจการเพียงเล่มเดียว ส่วนบริษัทฯ ที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออก
ใบก ากับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการถูกด าเนินคดี ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559
กรมสรรพากรจะด าเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
4. Q : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดได้รับประโยชน์จากพระราชก าหนด
A : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากก าไรสุทธิ และมีรายได้ไม่เกิน
500 ล้านบาทในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาซึ่งมีระยะเวลาครบ 12 เดือน และมีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา
บัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
5. Q : ประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้จากพระราชก าหนด คืออะไร
A : จะได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทาง
อาญาตามประมวลรัษฎากร ส าหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระท าตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559
6. Q : ถ้าต้องการได้รับการยกเว้นตามพระราชก าหนด ต้องท าอย่างไร
A : ต้องมาจดแจ้งต่อกรมสรรพากร โดยยื่นค าขอจดแจ้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ
กรมสรรพากรที่ http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 25597. Q : บริษัทฯ จะทราบได้อย่างไรว่าได้จดแจ้งเรียบร้อย หรือไม่
A : บริษัทฯ ที่ได้จดแจ้งต่อกรมสรรพากรภายในก าหนดเวลา จะได้รับข้อความแจ้งผ่านทางอีเมล์ที่
บริษัทฯ ได้ให้ไว้กับกรมสรรพากร ว่าได้รับการจดแจ้งเรียบร้อยแล้ว
8. Q : ภายหลังการจดแจ้ง บริษัทฯ ต้องกระท าตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อให้ได้การ
ยกเว้น
A : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจัดท าบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่
แท้จริงของกิจการตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป และ
จะต้องไม่กระท าการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งต้องยื่นแบบแสดงรายการและช าระภาษีให้
ครบถ้วน ตามประเภทภาษีที่บริษัทฯ มีหน้าที่ในการยื่นแบบและช าระภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559
เป็นต้นไป
9. Q : กรณีที่บริษัทฯ ได้จดแจ้งแล้ว กรมสรรพากรจะยกเลิกการตรวจสอบในอดีตทั้งหมดใช่
หรือไม่
A : กรณีที่บริษัทฯ ได้จดแจ้งแล้ว และอยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออกใบก ากับ
ภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการถูกด าเนินคดี ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 กรมสรรพากร
จะด าเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
10. Q : ถ้าบริษัทฯ อยู่ระหว่างขอคืนภาษีอากร บริษัทฯ จะยังคงได้เงินภาษีที่ขอคืนไว้หรือไม่
อย่างไร
A : ถ้าบริษัทฯ อยู่ระหว่างขอคืนภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินจะยังคงสามารถด าเนินการ
ตรวจสอบความถูกต้องของจ านวนภาษีที่ขอคืนนั้นได้
11. Q: หากบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ก าหนดจะถูกด าเนินการอย่างไร
A: กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัทหรือห้าง
หุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้นไม่
เคยได้รับสิทธิใดๆ ตามพระราชก าหนดฉบับนี้
12. Q : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้รับการยกเว้นตามพระ
ราชก าหนดนี้ได้หรือไม่
A : SMEs ที่ได้จดแจ้งต่อกรมสรรพากรตามพระราชก าหนดนี้ ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ
ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร
13. Q : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นตามพระราชก าหนด ต้องมีทุนจด
ทะเบียนเท่าไหร่
A : ไม่มีการจ ากัดทุนจดทะเบียนส าหรับบริษัทฯ ที่จดแจ้งตามพระราชก าหนดนี้ แต่บริษัทฯ ต้องมี
รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาซึ่งมีระยะเวลาครบ 12 เดือน และมีวันสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
14. Q : หากบริษัท ฯ ได้จดแจ้ง และมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ตรงตามเงื่อนไขที่ได้ก าหนดใน
พระราชก าหนดฯ นี้ แต่ปรากฏว่าในปีต่อมาบริษัทฯ มีรายได้เกินกว่า 500 ล้านบาท บริษัทฯ จะยังคงได้รับ
การยกเว้นการตรวจสอบตามพระราชก าหนดฯ หรือไม่
A : บริษัทฯ จะยังคงได้รับการยกเว้นการตรวจสอบตามพระราชก าหนดฯ นี้ 15. Q : ท าไมถึงต้องให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใช้บัญชีและงบการเงินที่ใช้ในการยื่นรายการภาษี
เงินได้เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อ
A : เนื่องจากการจัดท าบัญชีและงบการเงินที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ เป็นการสร้างความ
น่าเชื่อถือในการท าธุรกรรมการเงินให้กับกิจการเหล่านั้น ท าให้รัฐสามารถให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการ ได้ตรงจุดและ
ตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร
16. Q : สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ ส าหรับนิติบุคคลประเภทใด
A : ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 และมีทุน
ช าระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการ
ให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม
(SME))
17. Q : บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการได้สิทธิประโยชน์ อย่างไรหรือไม่
A : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม ที่จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
จะต้องยื่นค าขอจดแจ้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรที่ http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่
15 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2559 ว่าเป็นผู้ประกอบการตามพระราชก าหนดการยกเว้นและสนับสนุน
การปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และต้องไม่ถูกเพิกถอนการได้รับการยกเว้นตามพระราช
ก าหนด ฯ
18. Q : สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นอย่างไร
A : เป็นการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับ SME ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559
และปี 2560 ดังนี้
ก าไรสุทธิ
อัตราภาษี
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560
0 – 3 แสนบาท
ยกเว้น
ยกเว้น
3 แสนบาทขึ้นไป 10%
19. Q : กรณีหากเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่แล้ว แต่ไม่ได้จด
แจ้งเพื่อขอรับการยกเว้นตามพระราชก าหนดฯ ภายในก าหนดเวลา จะขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการ
ยกเว้นและลดอัตราภาษีเพียงอย่างเดียว ได้หรือไม่
A : หากบริษัทฯ ไม่มีการจดแจ้งตามพระราชก าหนดฯ จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการ
ยกเว้นและลดอัตราภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ
20. Q : ถ้าบริษัทฯ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ใด
A: หากต้องการทราบข้อมูลตามพระราชก าหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ เพิ่มเติม สามารถ
สอบถามได้ที่ RD Call Center โทร 1161 หรือที่ส านักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ
*******************************